สำหรับในคดีอาญานั้น พึงรับรู้ไว้ว่ามีทั้งคดีอาญาอันยอมความได้ และคดีอาญาแผ่นดินอันไม่อาจยอมความได้ คดีอาญาบางอย่างมันสามารถยอมความได้ ก็จะทำให้ผู้เสียหายกับจำเลยหรือผู้ต้องหาได้มีโอกาสพูดคุยกัน หากว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยบรรเทาความเสียหายให้กับผู้เสียหายหรือโจทก์จนเป็นที่พอใจ ผู้เสียหายและโจทก์สามารถถอนคำร้องทุกข์หรือถอนฟ้อง อันทำให้คดีความเสร็จสิ้นไปจากศาล
แต่สำหรับคดีอาญาแผ่นดินอันไม่อาจยอมความได้ ผู้เสียหายกับจำเลยมานั่งคุยกันไปก็เท่านั้นไม่มีประโยชน์ แต่หากจำเลยสำนึกผิดจริงอาจจะบรรเทาความเสียหายให้กับผู้เสียหายก็ได้ ตามที่ได้ตกลงกันแต่คดีก็ยังดำเนินต่อไป แต่เหตุในการที่เราบรรเทาความเสียหายให้กับโจทย์นี้อาจเป็นเหตุให้ศาลลงโทษสถานเบาหรือรอลงอาญาก็ได้
ตัวอย่างคดีอาญาอันอาจยอมความได้ก็ได้ เช่น คดีเช็ค คดียักยอก คดีฉ้อโกง คดีพวกนี้คุยกับผู้เสียหายหรือโจทก์กันให้ดีว่าจะเอาอย่างไร
ตัวอย่างคดีอาญาไม่อาจยอมความได้หรือเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ก็เช่น คดีลักทรัพย์ คดียาเสพติด เป็นต้น ซึ่งคดีพวกนี้เป็นคดีอาญาที่ยอมความไปก็ไม่มีประโยชน์ โดยเฉพาะคดีลักทรัพย์ซึ่งคนแบบชาวบ้านไม่เข้าใจว่าลักทรัพย์แค่ขนม 200 บาททำไมติดคุก ก็ความผิดมันสำเร็จแล้วตามประมวลกฎหมายอาญา ในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์ เจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินคดีต่อไปตามหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ทำหน้าที่ก็จะมีความผิดอีก
จึงจะบอกเอาไว้ว่า ความรู้ในทางกฎหมายกับ สิ่งที่ชาวบ้านเข้าใจอาจจะไม่ตรงกัน หากถูกดำเนินคดีอาญาขึ้นมาควรที่จะรู้ว่าเป็นคดีอาญายอมความได้หรือไม่ได้ น้อยที่สุดจะได้หาทางแก้ไขโดยอาจจะบรรเทาความเสียหายให้กับผู้เสียหายหรือโจทก์ หรือจะแก้ไขสถานการณ์ด้วยวิธีอื่นใดก็ตามแต่ก็ว่ากันต่อไป
ปรึกษาทนายความ line http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=4858




ความคิดเห็นต่อบทความ
ความเห็นบน MagGang(0)
ความเห็นบน Facebook()